ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศหญิง (Female-Circumcision)

ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศหญิงไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ?

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศหญิงในทางการแพทย์แบบปัจจุบัน มีความแตกต่างจากการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศหญิงที่ทำกันในประเทศแอฟริกา หรือ อเมริกาใต้ โดยในปัจจุบันมีความสับสน เพราะใช้คำศัพท์คำเดียวกันคือ FEMALE CIRCUMCISION ในประเทศแอฟริกามีความเชื่อทางจิตวิญญาณทำให้เกิดประเพณีการขลิบหนัง ของอวัยวะของเพศหญิง โดยการตัดคลิตอริส และหนังหุ้มคลิตอริสทั้งหมด โดยใช้คำศัพท์ที่เรียกว่าการขลิปหนังตามประเพณี (SUNNA CIRCUMCISION)

โดยมีความแตกต่างจากปัจจุบัน เนื่องจากการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศหญิง หรือ คลิตอริส เป็นการผ่าตัดเพื่อเปิดคลิตอริสให้สามารถรับการ กระตุ้นทางเพศได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ทำในคนที่มีปัญหาทางร่างกายส่งผลให้ไม่มีความสุขทางเพศ โดยหากเป็นปัญหาเกี่ยวข้องกับร่างกายจริง ๆ สาเหตุเกิดปัญหาทางกายภาพ หนังหุ้มปลายอวัยวะที่ชัดเจน

**ข้อควรรู้การผ่าตัดไปแล้วจะแก้ไขกลับคืนได้ยาก

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดขลิบหนังหุ้มปลาย

1. ปัญหาทางกายภาพที่ขัดขวางทางรับความรู้สึกของคลิตอริส ได้แก่

ก. หนังหุ้มปลายปิดหมดไม่สามารถรูดเปิดได้ [PHIMOSIS]

เช่นเดียวกับการที่รูเปิดเล็กในเพศชายและทำให้รูดไม่ได้สำหรับผู้หญิง เกิดจากหนังที่หุ้มยืดติดกับคลิตอริสแน่นไม่สามารถรูดเปิดได้โดยทั่วไปมีการแบ่งระดับการติดเป็น 4 ระดับตามการติดหนังหุ้มคลิตอริส
[ระดับ 1 =25% , ระดับ 2 =50% , ระดับ 3 =75% , ระดับ 4 = 100%]

ข. การที่มีหนังหุ้มปลายยืดยาวเกินจะขัดขวางต่อการสัมผัสเวลามีเพศสัมพันธ์

การที่มีความยืดยาวเกินไปแบ่งระดับได้เป็น 4 ระดับ เช่นกัน [ระดับ 1 ยาว 1/4 นิ้ว , ระดับ 2 ยาว 1/3 นิ้ว , ระดับ 3 ยาว 1/2 นิ้ว , ระดับ 4 ยาว 1 นิ้ว] การผ่าตัดควรจะทำแล้วได้ผลดี ในความผิดปกติ ระดับ 3 และ 4

2. หนังหุ้มที่มีลักษณะเป็นพังพืดและมีความยืดหยุ่นน้อย

3. ต้องการเพิ่มความรู้สึก

ในกรณีนี้ต้องตรวจปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในเวลามีเพศสัมพันธ์ก่อนจิตแพทย์เป็นผู้ให้คำแนะนำเหล่านี้ได้ ดี ควรลองใช้วิธีการอื่น ๆ เพื่อพัฒนาก่อนการตัดสินใจผ่าตัด

4. คนที่อ้วนมาก

คลิตอริสจะอยู่ในตำแหน่งที่ลึก ยากที่จะรับความรู้สึก

5. การที่คลิตอริสมีขนาดเล็กและอยู่ลึกมาก

การผ่าตัดจะได้ผลดี เฉพาะคนที่มีปัญหาหนังหุ้มอวัยวะยาวและติด ซึ่งจะเป็นสาเหตุหลักของการมีเพศสัมพันธ์จริง ๆ ถ้าไม่ใช่ ถึงแม้ผ่าตัดไปก็ได้ผลไม่ดี อีกอย่างหนึ่งถึงการผ่าตัดไม่ได้รับประกันได้ว่าจะทำให้ถึงจุดสุดยอด [ORGASM] ได้เพียงแต่ช่วยให้มีความรู้สึกดีขึ้นกว่าก่อนการผ่าตัดเท่านั้น

การปรึกษาก่อนผ่าตัด

  1. การผ่าตัดทำเฉพาะในคนที่อวัยวะเพศมีการเจริญเติบโตเต็มที่ [อายุ > 20 ปี]
  2. ก่อน ที่จะพบศัลยแพทย์ตกแต่งควรที่จะปรึกษาสูตินารีแพทย์ เพื่อทำการตรวจอวัยวะภายนอก ก่อนว่ามีปัญหาหรือไม่ การตรวจควรต้องตรวจทั้งในช่องคลอด , แคมใน และส่วนของคลิตอริส
  3. ตรวจลักษณะทางกายภาพคลิตอริส มีการติดกับหนังหุ้มเกินไปหรือไม่ ตรวจดูการเปิด คลิตอริส เพื่อทำความสะอาดและรับความรู้สึก
  4. ปรึกษา จิตแพทย์ บางครั้งปัญหาความสุขของการมีเพศสัมพันธ์ อาจมีปัญหาที่ฝ่ายชายได้ เช่น มีการกระตุ้นทางเพศน้อยเกินไป , ปัญหาการหลั่งเร็วหรือปัญหาเรื่องประสบการณ์ จิตแพทย์อาจใช้คำแนะนำที่ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้โดยไม่ต้องผ่าตัด
  5. หลัง จากปรึกษาสูติแพทย์และจิตแพทย์แล้วพบว่าปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ อยู่ที่ลักษณะทางกายภาพจริง สามารถนัดตรวจและปรึกษาก่อนผ่าตัดกับศัลยแพทย์ได้ โดยอาจต้องแนบผลตรวจมาด้วยในวันที่ปรึกษาเพื่อประกอบการตรวจร่างกายเพื่อให้ มั่นใจว่าการผ่าตัดช่วยให้ได้ผลดี ก่อนการตัดสินใจผ่าตัดถ้าเพิ่มขนาดคลิตอริส โดยการใช้เทสโทรเตอโรนครีม สามารถช่วยเพิ่มขนาดคลิตอริสให้มีขนาดใหญ่ส่งผล ให้มีความรู้สึกดีขึ้นและง่ายจากการกระตุ้น
  6. ผลข้างเคียงของการผ่าตัดคือ ระยะแยกขอบของคลิตอริสจะมีแผลทำให้มีอาการปวด และคันได้ การที่คลิตอริสเปิด ออกทำให้ความรู้สึกไวเกินไปในระยะแรกได้

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด

  1. นัดปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย ก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 2 อาทิตย์
  2. ถ้าดมยาสลบต้องงดอาหาร6 ชั่วโมง ก่อนการผ่าตัด
  3. การผ่าตัดอาจทำพร้อมกับการลดขนาดของแคมใน ถ้าต้องการลดขนาดของแคมใน ควรแจ้งให้ทราบตั้งแต่วันมาปรึกษา
  4. เลือกการผ่าตัดประมาณ 2 อาทิตย์ก่อนมีประจำเดือน เพื่อสะดวกในการดูแลแผล
  5. หยุดงานประมาณ 2 – 3 วัน
  6. เตรียมกางเกงในหลวม ๆ ใส่ในวันผ่าตัด
  7. งดสูบบุหรี่ 1 อาทิตย์ ก่อนและหลังผ่าตัด
  8. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ 1 วันก่อนผ่าตัด
  9. งดยาต้านการอักเสบกลุ่ม แอสไพริน และวิตามิน E 2 อาทิตย์ ก่อนการผ่าตัด

ขั้นตอนการผ่าตัด

การผ่าตัดอาจทำโดยการดมยาสลบ แต่โดยทั่วไปสามารถทำโดยการฉีดยาชาได้

  1. วาดรูปส่วนของหนังหุ้มปลายที่ต้องการตัดออก
  2. ทำการฉีดยาชาผสมอดีนาลีน
  3. แยกหนังหุ้มออกจากคลิตอริสกรณีที่มีการติดกันอยู่
  4. หยุดเลือด
  5. เย็บปิดแผลโดยใช้ไหมละลาย
  6. กรณีที่มีการติดของคลิตอริสและเยื่อหุ้มอาจต้องวางวัสดุปิดแผลกันการติดกันใหม่ของหนังหุ้มปลา